บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

วิธีเปลี่ยนฟอนต์ใน Notepadqq

หลังจากเริ่มหัดเขียนเว็บจริงจังเมื่อเป็นสิบปีก่อน ก็ใช้ EditPlus เป็น editor คู่ใจมาตลอด รวมถึงการแก้ไขไฟล์สารพัด เพราะความสะดวกในการใช้งาน หลังจากนั้นก็มีใช้ Notpad++ บ้าง แล้วพอ Adobe ออกโปรแกรมชุด Brackets ก็เลยเปลี่ยนมาใช้ เพราะว่าเวลาจัดการพวก source code มันสะดวกกว่าใช้ EditPlus เมื่อ Microsoft ออกชุดพัฒนาโปรแกรม Visual Studio Code (MS VS Code) ก็เลยได้มาใช้ด้วย ก็เท่ากับว่าหลักๆ ใช้อยู่สองตัวคือ Adobe Brackets กับ MS Visual Studio Code แต่ก็ยังขัดใจเรื่องความสะดวกในการใช้งานหลายๆ อย่างในโปรแกรมทั้งสองตัวนี้ ซึ่งมีใน EditPlus ก็เลยยังมีสลับใช้ปนๆ กันไป พอเปลี่ยนมาใช้งาน Linux ตัว Elementary OS (base on Ubuntu) ซึ่งมีโปรแกรมที่ใช้งานทั้งสองตัวนี้ให้ใช้อยู่แล้ว แต่ไม่มี EditPlus (เคยลองติดตั้งผ่าน Wine แล้ว แต่ใช้งานไม่ได้) สิ่งที่ขัดใจใน Adobe Brackets กับ MS Visual Stiduo Code คือ ทำงานกับไฟล์เก่าที่เขียนบน Windows ด้วย encoding แบบไทย (คือรหัส TIS-620) ไม่ได้ นอกจากนั้นยังไม่มีคำสั่ง แปลง case convert เลยตามหาโปรแกรมใช้งานแบบ Notepad++ บนลินุกซ์ แล้วได้มาเจอกับ Not...

สร้าง shortcut ด้วยคำสั่ง ln

การใช้งาน Windows เรามักจะสร้าง shortcut ของโปรแกรมมาแปะไว้บน desktop จนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว พอมาใช้ Linux เวลาที่จะต้องพิมพ์คำสั่งจัดการไฟล์ที่อยู่ซ้อนกันยาวๆ ก็มีวิธีสร้าง shortcut เหมือนกัน การสร้าง shortcut คือการสร้าง link สำหรับผูกชื่อไฟล์ที่เรามองเห็น กับตำแหน่งของไฟล์จริงๆ ที่เก็บบน harddisk คำสั่งที่ใช้ คือ ln (แอล-เอ็น) ก่อนจะใช้งาน ก็ต้องทำความเข้าใจก่อน ไม่งั้นจะงง ถึงต้องมาบันทึกเขียนบล็อกไว้ เพราะตอนไม่ได้ใช้นานๆ แล้วมันงงนี่แหละ ฮา 😅 การสร้าง link เนี่ย ประโยชน์ก็คือจะได้อ้างถึงชื่อไฟล์ได้ง่ายๆ เช่น ไฟล์จริงเก็บอยู่ที่ /opt/lampp/htdocs/myweb/file1.txt เวลาจะอ้างถึงไฟล์ ที่จะต้องพิมพ์ที่อยู่ยาวๆ ก็สร้าง link มา เช่น ~/file1.txt การสร้างลิงก์ เราก็ใช้คำสั่ง ln file1 file2 เช่น ln file1.txt file2.txt ลองเปิดไฟล์ file1.txt แล้วพิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ แล้วสั่งบันทึก พอสั่งให้แสดงเนื้อหาในไฟล์ cat file1.txt ก็จะเห็นข้อความที่อยู่ในไฟล์ ซึ่งถ้าสั่ง cat file2.txt ก็จะเห็นข้อความเดียวกัน ถ้าเราเปิดไฟล์ file1.txt หรือ file2.txt ขึ้นมาแก้ไขข้อมูลแล้วสั่...

วิธีการติดตั้ง-ลบโปรแกรม

ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมผ่านทาง Program Center ก็แค่จิ้มสั่ง install หรือ remove ได้เลย แต่ถ้าเป็นการติดตั้งผ่าน command line ใน terminal ก็ต้องพิมพ์เข้าไปเอง ก่อนจะติดตั้งโปรแกรม ก็ต้องสั่งเพิ่มแหล่งเก็บโปรแกรมลงไปก่อน แล้วก็สั่ง update รายการแหล่งติดตั้ง จากนั้นถึงจะสั่งติดตั้งได้ เช่น sudo add-apt-repository ppa:xxx (ชื่อแหล่งเก็บไฟล์ติดตั้ง) sudo apt-get update sudo apt-get install ชื่อโปรแกรม สั่งลบโปรแกรมออกจากเครื่อง sudo apt-get remove ชื่อโปรแกรม && sudo apt-get autoremove สั่งลบแหล่งติดตั้งโปรแกรม sudo add-apt-repository --remove ppa:xxx (ชื่อแหล่งเก็บไฟล์ติดตั้ง) sudo apt-get update * * * * * * * * * * [Keywords] install or remove program, ติดตั้ง ลบ โปรแกรมบนลินุกซ์

แปลงไฟล์ภาพ ให้เป็น PDF

การแปลงไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์ ให้รวมเป็นไฟล์ PDF ไฟล์เดียว จะใช้โปรแกรม ImageMagick ซึ่งโดยปกติจะมีติดตั้งมาพร้อมกับ Linux distro อยู่แล้ว ไม่ต้องลงเพิ่ม แต่ถ้าไม่มี ก็ติดตั้งลงไปด้วยคำสั่ง sudo apt-get install imagemagick เมื่อมี imagemagick แล้ว วิธีการแปลง คือ เปิด terminal แล้วใช้คำสั่ง convert ไฟล์ภาพต้นทาง.jpg ไฟล์ที่ต้องการ.pdf ซึ่งไฟล์ต้นทางและปลายทาง ต้องระบุตำแหน่ง directory (folder) ด้วย เช่น /home/user/temp/filename.jpg หากต้องการแปลงไฟล์ภาพหลายไฟล์ให้รวมเป็น pdf ไฟล์เดียว ไฟล์รูปภาพควรจะตั้งชื่อเรียงกัน เช่น 001.jpg, 002.jpg, 003.jpg ... ไปเรื่อยๆ แล้วก็สั่ง convert โดยเลือกไฟล์ภาพต้นทางเป็น *.jpg นอกจาก jpg แล้วยังแปลงไฟล์นามสกุล png, jpeg ฯลฯ ได้อีกด้วย หากรูปภาพมีหลายนามสกุล ก็สั่งเป็น *.* ได้เลย นอกจากจะแปลงไฟล์ภาพเป็น pdf แล้ว ก็ยังสามารถแปลงชนิดของไฟล์ภาพได้ด้วย เช่น แปลงจาก png เป็น jpg หรือกลับกัน วิธีแปลงก็ใช้คำสั่งเดิม แค่เปลี่ยนนามสกุลไฟล์ที่ต้องการจาก pdf เป็น ไฟล์ภาพแค่นั้นเอง และถ้าแปลงไฟล์ png เป็น jpg เราก็ยังระบุคุณภาพของการบีบอัด jpg ได้ด้ว...

Linux Diary บันทึกการใช้งานลินุกซ์

ได้ใช้งาน Linux แบบจริงจังมาเมื่อราวๆ กุมภาพันธ์ 2559 ใช้มาได้ปีกว่า หลายๆ อย่าง นานๆ ใช้ซะที ก็เลยลืม ก่อนหน้านี้บันทึกกันลืมไว้ที่บล็อกส่วนตัว แต่รู้สึกมันกระจัดกระจาย เลยเอามารวบรวมไว้เวลาค้นหาจะได้ง่ายหน่อย :) ลินุกซ์ที่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ต้นปี 59 แล้วใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ก็คือ elementary OS ซึ่งตอนแรกใช้รุ่น 0.3.2 Freya (base on Ubuntu 14.04 LTS) จนเมื่อราวตุลา 59 ก็อัปเดตรุ่นเป็น 0.4 Loki (base on Ubuntu 16.04 LTS) ที่จริงก็ชอบอยู่นะ แต่ปัญหาหลักๆ ที่เจอคือไม่สามารถใช้งานหลายๆ โปรแกรมได้ เพราะเรื่องของ library ซึ่งแก้จนมืนก็ยังใช้งานไม่ได้ อนาคต ว่าจะลองใช้ Linux Mint (คงจะเป็น MATE) แต่ก็ชอบหน้าตาของ elementary OS มากกว่า ซึ่งถ้าย้ายไป ก็คงจะแต่งให้หน้าตาแบบเดิมนี่แหละ ฮา